ทั้งการลงทุนและการเทรดหมายความถึงการทำกำไรจากสินทรัพย์หรือในตลาดหุ้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้สลับกันได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และระยะเวลาที่มีอยู่ คำศัพท์ทั้งสองมีความคล้ายคลึงกันหลายประการ อย่างไรก็ตาม วิธีการไล่ตามเป้าหมายในการทำกำไรนั้นคือที่มาของความแตกต่าง กล่าวโดยย่อคือ การลงทุนเกี่ยวข้องกับการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวกว่า ไม่ว่าจะเป็น ระยะกลาง/ระยะยาว ในขณะที่การเทรดเกี่ยวข้องกับการสร้างผลกำไรภายในระยะเวลาอันสั้น
เพื่อขจัดความสับสนระหว่างศัพท์สองคำนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับมือใหม่ เราได้เจาะลึกเกี่ยวกับสองคำนี้ เราจะมาอธิบายว่าการเทรดและการลงทุนนั้นแตกต่างกันอย่างไร เมื่อไร และที่ไหน โดยเราได้แบ่งบทความออกเป็นหัวข้อต่อไปนี้ เพื่อให้เข้าใจง่าย:
การลงทุนคืออะไร
การเทรดคืออะไร
ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างการลงทุนและการเทรด
ระหว่างการลงทุนและการเทรด: แบบไหนดีกว่ากัน
เมื่อพิจารณาข้อมูลเบื้องต้นสั้นๆ กันไปแล้ว ตอนนี้เรามาดูที่คำศัพท์สองคำที่มักสับสนกัน
การลงทุนคืออะไร
การลงทุนหมายถึงกลยุทธ์การซื้อและถือในระยะยาว ในที่นี้นักลงทุนจะซื้อและถือสินทรัพย์ในระยะยาวตั้งแต่หลายปีจนถึงหลายสิบปี เคล็ดลับคือการสร้างผลกำไรจำนวนมากในขณะที่ราคาของสินทรัพย์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนจำนวนมากนำรายได้ที่เคยสร้างกลับมาลงทุนใหม่เพื่อให้ได้รับผลกำไรที่มากขึ้น จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการลงทุนของบุคคลนั้นๆ จะเป็นตัวกำหนดระยะเวลาในการลงทุน ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อาจต้องใช้เวลา 3-5 ปี ทั้งนี้จะต่างกับผู้ที่ลงทุนในโครงการเกษียณอายุ ซึ่งอาจมีกรอบระยะเวลาตั้งแต่ 20 ถึง 30 ปี
หลักการพื้นฐานที่ใช้กับการลงทุนระบุว่า สำหรับนักลงทุนที่มองหาผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงขึ้น พวกเขาควรคาดการณ์ถึงความเสี่ยงจากการลงทุนที่สูงขึ้น หรือที่เรียกว่า "การชั่งน้ำหนักระหว่างความเสี่ยงกับผลตอบแทน" กล่าวคือหมายถึงความแตกต่างระหว่างผลตอบแทนที่แท้จริงและผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุน ความยาวของกรอบระยะเวลาจะเป็นตัวกำหนดจำนวนความเสี่ยงในการลงทุนที่นักลงทุนควรคาดการณ์ถึง สำหรับนักลงทุนที่เล็งกรอบเวลาระยะสั้น พวกเขาต้องระมัดระวังในการเลือกประเภทของการลงทุนเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ภาวะขาขึ้นและขาลงของตลาดการเงินในระยะสั้นทำให้นักลงทุนจำนวนมากสบายใจ นอกจากนี้สิ่งนี้ทำให้พวกเขายังคงมองโลกในแง่ดีว่าแม้ว่าจะมีช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ผลการดำเนินงานไม่ดี แต่ในที่สุดราคาก็จะเด้งกลับมาและฟื้นตัวจากสถานการณ์ที่ไม่ดีในระยะสั้น
ประเภทของการลงทุน
การลงทุนแบบ Active: ส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการซื้อและการขายหลักทรัพย์เพื่อให้ได้ผลการดำเนินงานที่สูงกว่าดัชนีชี้วัดการลงทุนที่ตั้งไว้ภายในระยะเวลาหนึ่ง ในที่นี้นักลงทุนแบบ Active สามารถซื้อหุ้นหรือสินทรัพย์สี่สิบรายการเพื่อให้มีผลการดำเนินงานที่สูงกว่าบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ 500 แห่ง หรือที่เรียกว่าดัชนี S&P 500
รูปแบบการลงทุนหลักๆ สองรูปแบบที่พบได้ทั่วไปสำหรับนักลงทุนส่วนใหญ่คือ รูปแบบการลงทุนแบบ Active และแบบ Passive
การลงทุนแบบ Passive: การลงทุนประเภทนี้ใช้ในกรณีที่นักลงทุนต้องการลงทุนตามดัชนีชี้วัดหรือผลการดำเนินงานของตลาดในบางครั้ง บรรดานักลงทุนกลุ่มนี้จะหลีกเลี่ยงหลักทรัพย์จำพวกกองทุนที่มีเกณฑ์มาตรฐานเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน อาทิ กองทุนดัชนีและ ETF (กองทุนรวมดัชนีที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์) การเคลื่อนไหวดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อติดตามผลการดำเนินงานของตลาด
การเทรดคืออะไร
การเทรดเป็นการลงทุนทางการเงินแบบ Active มากกว่า ซึ่งเป็นระยะสั้นเมื่อเทียบกับการลงทุน ในที่นี้เทรดเดอร์จะถือสถานะการเทรดในระยะเวลาที่สั้นกว่าอย่างเห็นได้ชัด ส่วนใหญ่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ภายในไม่กี่ชั่วโมง, ไม่กี่วัน หรือไม่กี่สัปดาห์ เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการเคลื่อนไหวของราคาภายในเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ทั้งนี้ไม่เหมือนกับบรรดานักลงทุนซึ่งจะได้รับประโยชน์หลักจากราคาหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้น บรรดาเทรดเดอร์จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากราคาที่เพิ่มขึ้นและลดลงเพื่อทำผลกำไร บรรดานักลงทุนจะมุ่งเน้นไปที่แนวโน้มการเติบโตของสินทรัพย์ในระยะยาว ในขณะที่เทรดเดอร์จะมุ่งเน้นไปที่ทิศทางราคาของสินทรัพย์ในสถานะถัดไป จากนั้นจึงวางกลยุทธ์ในการทำผลกำไรจากการประมาณการนั้น เทรดเดอร์จะอาศัยคำสั่ง stop-loss เพื่อปิดการเทรดที่ขาดทุนโดยอัตโนมัติในระดับที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นการปกป้องเงินทุนในการเทรด อย่างไรก็ตาม กรณีเช่นนี้จะไม่เกิดกับบรรดานักลงทุน เพราะพวกเขาจะผ่านพ้นช่วงที่ผลการดำเนินงานไม่ดีไปได้
การเทรดนั้นต้องอาศัยความมุ่งมั่นมากกว่าการลงทุน โปรดจำไว้ว่า นักลงทุนสามารถซื้อสินทรัพย์ กองทุน หรือหุ้น และลืมมันไปได้เป็นเวลานาน ในขณะที่เทรดเดอร์จำเป็นต้องติดตามความเคลื่อนไหวหรือพัฒนาการของตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเรื่องนี้ เทรดเดอร์มีรูปแบบการเทรดที่หลากหลายที่พวกเขาสามารถใช้ได้ เราจะมาพูดคุยถึงเรื่องนี้กันแบบสั้น ๆ
รูปแบบการเทรด
Swing trading (การเทรดแบบสวิง): รูปแบบการเทรดนี้เน้นที่การเคลื่อนไหวของราคาในกรอบที่กว้างขึ้น แทนที่จะเข้าและออกจากการเทรดตามแนวโน้มราคา เทรดเดอร์จะถือสถานะไว้เป็นเวลาตั้งแต่ไม่กี่วันถึงหลายสัปดาห์
Scalping style (การเก็งกำไรเล็กน้อยในระยะสั้น): รูปแบบนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมผลกำไรเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ โดยจะเป็นการถือสถานะการเทรดในช่วงเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ตั้งแต่วินาทีถึงสองสามนาที
Day Trading (การเทรดรายวัน): รูปแบบการเทรดนี้เป็นการเปิดและปิดสถานะในวันเดียว โปรดจำไว้ว่า การเทรดที่ปิดก่อนตลาดปิดทำการจะลดการถูกรบกวนจิตใจจากข่าวสารการตลาดในชั่วข้ามคืน
Position trading (การเทรดสถานะ): ในการเทรดรูปแบบนี้ เทรดเดอร์จะได้รับประโยชน์จากราคาที่มีแนวโน้มโดดเด่น แนวโน้มจะเกิดขึ้นเมื่อราคาของสินทรัพย์บางรายการมีการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวในช่วงเวลาที่สำคัญ
Social trading style (รูปแบบโซเชียลเทรดดิ้ง) : รูปแบบนี้เป็นรูปแบบการเทรดเพิ่มเติม อุตสาหกรรมการเงินประกอบไปด้วยบรรดาเทรดเดอร์ที่มีจุดเริ่มต้น ภูมิหลัง และทักษะที่หลากหลายต่างกันไป บางรายมีการเรียนรู้ มีทักษะ และประสบการณ์มากกว่าคนอื่นๆ การทำงานร่วมกันระหว่างเทรดเดอร์ถือเป็นสิ่งสำคัญ เช่นเดียวกับที่เครือข่ายสังคมออนไลน์ดำเนินการ นี่เป็นวิธีที่ Social trading ดำเนินการเช่นเดียวกัน
Social Trading คืออะไร
คุณจะไม่สามารถเทรดได้อย่างมั่นใจหรือสบายใจหากคุณไม่มีความรอบรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดการเงิน เช่น การเทรดฟอเร็กซ์หรือการเทรดโลหะมีค่า ในฐานะเทรดเดอร์ คุณไม่สามารถที่จะดำเนินการคนเดียวได้ มิฉะนั้นคุณจะสูญเสียเงิน นั่นคือที่มาของ Social Trading ที่นำเสนอโอกาสเสี่ยงให้แก่บรรดาเทรดเดอร์ที่ยังไม่มีประสบการณ์หรือมือใหม่
เราได้กล่าวถึงรูปแบบการเทรดนี้ไปมากมาย แต่สิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่ารูปแบบ Social Trading นี้คืออะไร รูปแบบการเทรดนี้ดำเนินการเหมือนกับเครือข่ายสังคมทุกประการ อย่างไรก็ตามด้วยรูปแบบการเทรดนี้ เทรดเดอร์สามารถแบ่งปันแนวคิด ทักษะ หรือความเชี่ยวชาญในการเทรดแทนการแบ่งปันภาพเซลฟีหรือภาพถ่าย ด้วยรูปแบบการเทรดนี้ การมีปฏิสัมพันธ์สามารถเกิดขึ้นจากการรับชมผลการเทรดของเทรดเดอร์มืออาชีพรายอื่น วิเคราะห์และนำไปใช้กับการเทรดของคุณ ทั้งนี้เป็นเรื่องง่าย กล่าวคือ เมื่อคุณระบุเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จแล้ว ให้คุณติดตามและคัดลอกการเทรดของพวกเขา Social Trading นั้นให้ประโยชน์หลายประการ
ประโยชน์ของ Social Trading
เทรดเดอร์สามารถเข้าใจตลาดการเทรดได้อย่างรวดเร็ว ค่าใช้จ่ายและระยะเวลาที่เทรดเดอร์อาจต้องใช้เพื่อการเรียนรู้จะลดลงเมื่อดำเนินการผ่านแพลตฟอร์มการเทรดออนไลน์ทางโซเชียล ซึ่งมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
คุณสามารถเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับสร้างรายได้ ทั้งนี้คุณสามารถคัดลอกกลยุทธ์บางอย่างจากเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์และนำไปใช้กับการเทรดของคุณ ซึ่งนั่นหมายความว่าคุณไม่ต้องรอให้เสร็จสิ้นการเรียนรู้แล้วจึงจะสร้างรายได้ แต่คุณจะสามารถทำรายได้ได้ตั้งแต่วันแรกหากคุณคัดลอกการเทรดของเทรดเดอร์รายอื่นและประสบความสำเร็จ
Social Trading ทำให้เกิดชุมชนของเทรดเดอร์หรือนักลงทุนที่คุณสามารถแบ่งปัน มีปฏิสัมพันธ์ และทำงานร่วมกันในการลงทุนด้านการเทรดต่างๆ ได้ เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์จึงไม่มีข้อจำกัดว่าจะรับข้อมูลจากที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และจากใคร ตราบใดที่คุณเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ชุมชนนี้เป็นชุมชนของเทรดเดอร์ทั่วโลก
สุดท้าย การรับข้อมูลที่เชื่อถือได้จะลดลง เนื่องจากคุณได้รับข้อมูลโดยตรงจากแหล่งข้อมูลหลักโดยไม่ผ่านบุคคลที่สาม อีกประการหนึ่งคือสถานที่นั้นไม่จำกัดการเข้าถึงข้อมูล เนื่องจากเป็นการรวมกลุ่มแบบออนไลน์
ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างการลงทุนและการเทรด
แน่นอนว่ากลยุทธ์ทั้งสองประเภทนี้มีข้อแตกต่างกันอยู่ ข้อแตกต่างที่สำคัญคือการลงทุนเน้นดำเนินการในระยะยาว ส่วนการเทรดเน้นดำเนินการในระยะสั้น ด้านล่างนี้คือข้อแตกต่างที่สำคัญบางประการ
ข้อแตกต่างหลักประการแรกคือประเภทของสินทรัพย์ที่แต่ละกลยุทธ์ใช้ สำหรับการลงทุน ประเภทของสินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นหุ้นหรือการเทรดหุ้นอย่างที่ทราบกันทั่วไป หุ้นเหล่านี้แสดงถึงความเป็นเจ้าของในบริษัท ซึ่งสามารถให้ผลตอบแทนมากมายในช่วงเวลาหนึ่งเมื่อเทียบกับสินทรัพย์รูปแบบอื่น นักลงทุนสามารถเพิ่มสินทรัพย์อื่นๆ สองสามรายการไปพร้อมกันได้เพื่อกระจายพอร์ตการลงทุน เทรดเดอร์นั้นมีสินทรัพย์มากมายหลายประเภทให้มุ่งเน้น เช่น การเทรดฟิวเจอร์ส, ดัชนี, สินค้าโภคภัณฑ์ และสกุลเงินต่างๆ เป็นต้น จุดที่เป็นความแตกต่างอีกประการหนึ่งคือนักลงทุนมีส่วนเกี่ยวข้องในการซื้อขาดสินทรัพย์ ในขณะที่เทรดเดอร์บางครั้งจะใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆ เช่น CFD ในการเข้าถึงสินทรัพย์บางรายการ
วิธีค้นหาโอกาสและศึกษาวิจัยตลาดก็เป็นข้อแตกต่างที่สำคัญอีกประการหนึ่ง นักลงทุนใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมากเกินไปโดยดูจากข้อมูลในมือเกี่ยวกับสินทรัพย์บางประเภทเพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อหรือขายสินทรัพย์นั้นได้หรือไม่ สำหรับหุ้น นักลงทุนจะมองหาปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้ อันได้แก่ งบดุล, ภัยคุกคามจากการแข่งขัน, ความก้าวหน้าของกำไร หรือภูมิหลังทางเศรษฐกิจในการตัดสินใจซื้อหุ้น สำหรับเทรดเดอร์ พวกเขาจะให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคมากกว่าโดยการตรวจสอบกราฟราคา, รูปแบบ, แนวโน้ม หรือตัวชี้วัดต่างๆ เพื่อคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต ข้อมูลราคาในอดีตสามารถใช้คาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตได้ บรรดาเทรดเดอร์ใช้กลยุทธ์การวิเคราะห์ทางเทคนิคต่อไปนี้
Breakout trading (การเทรดทะลุผ่านแนวรับแนวต้าน): กลยุทธ์นี้ใช้กับสินทรัพย์ที่ราคาทะลุผ่านระดับแนวต้านหรือแนวรับที่กำหนดไว้
Trend trading (การเทรดตามแนวโน้ม): กลยุทธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างผลกำไรผ่านแนวโน้มราคาของสินทรัพย์ เทรดเดอร์จะต้องเทรดตามทิศทางของแนวโน้มเพื่อสร้างผลกำไร
Support or resistance trading (การเทรดที่ระดับแนวรับหรือแนวต้าน): กลยุทธ์นี้ส่งเสริมการสร้างผลกำไรผ่านการระบุระดับแนวรับหรือแนวต้านของสินทรัพย์ แนวรับหมายถึงระดับราคาที่ราคาของสินทรัพย์ตกลงไปต่ำกว่านี้ได้ยาก แนวต้านเป็นระดับที่ราคาของสินทรัพย์ปรับตัวขึ้นไปมากกว่านี้ได้ยาก
ข้อแตกต่างที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยง: ทั้งการลงทุนและการเทรดต่างมีลักษณะความเสี่ยงเฉพาะตัว ซึ่งนั่นหมายความว่าย่อมต้องมีวิธีบริหารจัดการความเสี่ยงที่ต่างกัน สำหรับนักลงทุน มีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอยู่สองประเภท อันได้แก่ ความเสี่ยงเฉพาะและความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านตลาดเกี่ยวข้องกับการลดลงของมูลค่าของตลาดทั้งหมด ในขณะที่ความเสี่ยงเฉพาะเกี่ยวข้องกับการลดลงของมูลค่าสินทรัพย์เฉพาะ เช่น หุ้น การกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนสามารถลดความเสี่ยงได้ ส่วนบรรดาเทรดเดอร์ต้องเผชิญกับความเสี่ยง 2 ประเภท คือ ความเสี่ยงจากความผันผวนและความเสี่ยงจากเลเวอเรจ ความผันผวนหมายถึงความผันผวนของราคาในระยะสั้น ในขณะที่เลเวอเรจเกี่ยวข้องกับเพิ่มผลทางการเงินหรือการยืมเงิน ทั้งนี้เพื่อรับมือกับความเสี่ยง บรรดาเทรดเดอร์จะใช้กลยุทธ์ด้านล่างนี้
พยายามหลีกเลี่ยงเลเวอเรจที่มากเกินไปโดยการตั้งค่าคำสั่ง stop-loss เพื่อหยุดการสูญเสียและการกำหนดขนาดสถานะที่เหมาะสมที่สุด
ระหว่างการลงทุน VS การเทรด: แบบไหนดีกว่ากัน
กลยุทธ์ทั้งสองแบบนี้ต่างมีทั้งข้อดีและข้อเสีย อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญได้ให้การยอมรับว่าทั้งการลงทุนและการเทรดต่างก็เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการสร้างผลกำไรจากตลาดการเงินทั่วโลก การพิจารณากลยุทธ์ที่เหมาะสมกับคุณนั้น มีปัจจัยหลายประการที่ควรพิจารณา ดังนี้
ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
วัตถุประสงค์ทางการเงิน
ความเข้าใจในสินทรัพย์บางประเภท/ส่วนของตลาด
เงินทุนในการเริ่มต้น
ปัจจัยด้านเวลา: นักลงทุนหรือเทรดเดอร์จะใช้เวลาเท่าใดในการติดตามการถือครองและศึกษาค้นคว้าข้อมูล
หลังจากที่ได้พิจารณาปัจจัยดังกล่าวแล้วเท่านั้น คุณจึงจะสามารถตัดสินใจได้ว่ากลยุทธ์ใดตอบโจทย์ความสนใจของคุณได้ดีกว่า อย่างไรก็ตามสำหรับหลายๆ คน การลงทุนดูเหมือนจะเป็นฝ่ายชนะเนื่องด้วยเหตุผลต่างๆ ด้านล่างนี้ อย่างไรก็ตามก่อนที่จะพูดถึงเหตุผลดังกล่าว เราสามารถจำแนกคำศัพท์สองคำนี้ออกจากกันได้โดยให้ความหมายของการเทรดว่าเป็นการลงทุนแบบ Active และการลงทุนเป็นการลงทุนแบบ Passive เพื่อให้เราเข้าใจดียิ่งขึ้น ด้านล่างนี้คือเหตุผลตามที่ได้เกริ่นไว้:
จากจุดเริ่มต้นของโพสต์นี้ สามารถจำแนกได้สามลักษณะที่ชัดเจน อันได้แก่ ระยะ
เวลา แนวทาง และความเสี่ยง การลงทุนระยะยาวมีความเสี่ยงน้อยกว่า ในขณะที่
การเทรดระยะสั้นมีความเสี่ยงสูง สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าคุณสามารถลงทุนและ
ดำเนินการเทรดได้ แม้ว่าจะขึ้นอยู่กับควา
บทสรุป จากจุดเริ่มต้นของโพสต์นี้ สามารถจำแนกได้สามลักษณะที่ชัดเจน อันได้แก่ ระยะเวลา แนวทาง และความเสี่ยง การลงทุนระยะยาวมีความเสี่ยงน้อยกว่า ในขณะที่การเทรดระยะสั้นมีความเสี่ยงสูง สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าคุณสามารถลงทุนและดำเนินการเทรดได้ แม้ว่าจะขึ้นอยู่กับความอดทนหรือความสามารถในการรับความเสี่ยงของคุณ บางทีคุณอาจเคยใช้คำศัพท์สองคำนี้แทนกันโดยไม่ทราบความหมายที่แท้จริง ตอนนี้เราเชื่อว่าจากโพสต์นี้ คุณได้ทำความคุ้นเคยกับความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการเทรดและการลงทุนแล้ว แต่นอกจากนี้ผลลัพธ์ทั้งจากการลงทุนและการเทรดส่วนใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยตลาดอ้างอิงต่างๆ ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้คุณต้องลงทุนในทรัพยากรการเรียนรู้และลงทุนเวลาเพื่อที่จะได้รับผลกำไรจากสินทรัพย์ที่คุณถือครอง
การปฏิเสธความรับผิด
ข้อมูลนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือคำแนะนำในการลงทุน หากแต่เป็นการสื่อสารทางการตลาด